วันศุกร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2557

บทความที่ 2

อยากยืดอายุตนเองให้ยาวออกไปอีก 2 ปี ก็อย่าขืนนั่งดูทีวีให้นานเกินวันละ 3 ชม PDF Print E-mail

นัก วิจัยทางการแพทย์สหรัฐฯ กล่าวแนะนำคนอเมริกันว่า ถ้าหากอยากยืดอายุตนเองให้ยาวออกไปอีก 2 ปี ก็อย่าขืนนั่งดูทีวีให้นานเกินวันละ 3 ชม. หรือต้องการ ให้อายุยืนแค่ 1 ปีกับอีก 4 เดือน ก็อย่านานเกินกว่าวันละ 2 ชม.

นักวิจัยของศูนย์ วิจัยชีวเวช เพนนิงตันได้พบในการศึกษา คนอเมริกันที่เป็นผู้ใหญ่ใช้เวลาแบบนั่งๆ นอนๆ มากถึงวันละประมาณ 7.7 ชม. เท่ากับใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับนั่งทำงานอยู่กับโต๊ะ ?ทั้งที่มีหลายวิธีที่จะลดการนั่งจ่อมอยู่ให้น้อยลง อย่างเช่น ยืนทำงานให้มากขึ้น หรือใช้โต๊ะที่จะต้องยืนทำ ยืนประชุมกัน ลงบันไดไปหาคนข้างล่าง แทนการส่งข้อความ?

นักวิจัยปีเตอร์ คัตซ์มาร์ซิก ยังได้เปิดเผยผลร้ายของการนั่งนานว่า เมื่อตอนเรานั่ง เราจะไม่ได้ใช้กล้ามเนื้อขา ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อขนาดใหญ่ที่สุดของร่างกายเลย ทำให้ไม่ได้ลดปริมาณน้ำตาลและไขมันลง ผลการศึกษาส่อว่า การนั่งหรือดูทีวีนาน อาจจะทำให้อายุขัยของคนอเมริกันสั้นลงได้.

บทความที่ 1

อย่า กินบ่อยนะ - ไข่เยี่ยวม้า ปาท่องโก๋ เนื้อย่าง ผักดอง ตับหมู ผักโขม ปวยเล้ง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เมล็ดทานตะวัน เต้าหู้หมัก เต้าหู้ยี้ ผงชูรส PDF Print E-mail

10 อาหารที่ไม่ควรกินบ่อย เสี่ยงสารเคมีสะสมก่อโรค

1. ไข่เยี่ยวม้า..ไข่เยี่ยวม้ามีตะกั่วค่อนข้างสูง ตะกั่วทำให้การดูดซึมแคลเซียมน้อยลง กินบ่อยๆ จะเสี่ยงโรคกระดูกโปร่งบางและอาจได้รับพิษตะกั่วเช่น สมองเสื่อม เป็นหมัน ฯลฯ
2. ปาท่องโก๋..กระบวนการทำปาท่องโก๋มีการใช้สารส้ม ซึ่งมีตะกั่วปนเปื้อน ตะกั่วทำให้ไตทำงานหนักในการขับสารนี้ออกไปนอกจากนั้นยังทำให้คอแห้ง เจ็บคอง่าย โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคร้อนในได้ง่าย
3. เนื้อย่าง..กระบวนการรมไฟ ย่างไฟทำให้เกิดสารเบนโซไพรีนซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง
4. ผักดอง..ผักดองและของหมักเกลือทำให้ร่างกายได้รับเกลือโซเดียมสูง ถ้ากินบ่อยเกินหรือมากเกินจะทำให้หัวใจทำงานหนักเกิดความดันเลือดสูงและโรค หัวใจได้ง่าย นอกจากนั้นกระบวนการหมักดองยังทำให้เกิดสารแอมโมเนียมไนไตรด์ ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง
5. ตับหมู..ตับหมูมีโคเลสเตอรอลสูง การกินตับหมูบ่อยเกินหรือมากเกินทำให้เสี่ยงต่อโรคหัวใจ เส้นเลือดสมอง (อัมพฤกษ์อัมพาต) และโรคมะเร็งเพิ่มมากขึ้น
6. ผักโขม,ปวยเล้ง.. ผักโขมและปวยเล้งมีสารอาหารสูง ทว่า...มีกรดออกซาเลตมาก ทำให้เกิดการขับสังกะสี และแคลเซียมออกจากร่างกายมาก การกินบ่อยเกินหรือมากเกินอาจทำให้เกิดภาวะขาดแคลเซียมหรือสังกะสีได้
7. บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป..บะหมี่สำเร็จรูปมีสารกัดบูด สารแต่งรสค่อนข้างสูง และมีคุณค่าทางอาหารต่ำ การกินบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมากเกิน หรือบ่อยเกินอาจทำให้เสี่ยงต่อโรคขาดอาหารและการสะสมสารพิษได้
8. เมล็ดทานตะวัน..เมล็ดทานตะวันมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงทว่า... การกินมากเกินหรือบ่อยเกินอาจทำให้กระบวนการเคมี (metabolism) ในร่างกายผิดปกติ ทำให้เกิดการสะสมไขมันในตับภาวะไขมันในตับสูงอาจทำให้เสี่ยงต่อโรคตับ เช่น ตับแข็ง ฯลฯเพิ่มขึ้น
9. เต้าหู้หมัก,เต้าหู้ยี้..กระบวนการหมักเต้าหู้อาจมีการปนเปื้อนเชื้อโรคได้ ง่าย... ซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อคนสูงอายุ หรือเด็กเล็กได้ นอกจากนี้กระบวนการผลิตยังทำให้เกิดไฮโดรเจนซัลไฟด์ซึ่งเป็นอันตรายต่อร่าง กาย
10. ผงชูรส..คนเราไม่ควรกินผงชูรสเกินวันละ 6 กรัม หรือประมาณ 1 ช้อนชา... การกินผงชูรสมากเกิน หรือบ่อยเกิน ทำให้เกิดภาวะกรดกลูตามิกในเลือดสูงอาจทำให้ปวดหัว ใจสั่น คลื่นไส้และมีผลเสียต่ออวัยวะสืบพันธุ์
ที่มา : http://www.thaihealth.or.th

แบบฝึกหัดบทที่ 8

แบบฝึกหัดบทที่ 8


แบบฝึกหัดบทที่ 8

แบบฝึกหัดบทที่ 8

การใช้สารสนเทศตามกฏหมายและจริยธรรม




- การจัดการสารสนเทศยุดใหม่ กลุ่ม 1
- นางสาว วิไลพร  รุ่งเรือง  56010912829
- คณะการบัญชีและการจัดการ สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม




1.นายAทำ การเขียนโปรแกรมขึ้นมา โปรแกรมหนึ่งเพื่อทำการทดลองกรโจมตีการทำงานของคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งานได้โดยการระบุ IP Address โปรแกรมนี้สร้างขึ้นเพื่อทดลองงานวิจัยนาย B ที่เป็นเพื่อนสนิทของนาย A ได้นำโปรแกรมนี้ไปทดลองใช้แกล้งนางสาว C เมื่อนางสาว C ทราบเข้าก็เลยนำ โปรแกรมนี้ใช้และส่งต่อให้เพื่อนๆที่รู้จักและทดลอง การกระทำนี้ผิดจริยธรรมหรือผิดกฏหมายใดใด หรือไม่ หากไม่ผิดเพราะเหตุใด และหากผิด ผิดในแง่ไหน จงอธิบาย
 
  • การ กระทำของนาย A และนาย B ไม่เป็นความผิดเพราะไม่ได้มีเจตนาที่จะเอานำโปรแกรมไปใช้ในทางที่ผิดหรือใช้ ในการโจมตีบุคคลอื่นที่ทำให้เกิดความเสียหาย
  •  แต่การกระทำของนางสาว C เป็นความผิดเพราะเอาโปรแกรมไปเผยแพร่ดัดแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาต 

2.นาย J ได้ทำการสร้างโฮมเพจ เพื่อบอกว่าโลกแบนโดยมีหลักฐานอ้างอิงจากตำราต่างๆ อีกทั้งรูปประกอบ เป็นการทำเพื่อสนุกสนาน ไม่ได้ใช้ในการอ้างอิงทางวิชาการใดใด เด็กชาย K เป็นนักเรียนในระดับประถมปลาย ที่ทำงานส่งครูเป็นการบ้านภาคฤดูร้อน โดยใช้ข้อมูลจากโฮมเพจของนาย J การกระทำอย่างนี้ เป็นการผิดจริยธรรมหรือผิดกฏหมายใดใดหรือไม่ หากไม่ผิดเพราะเหตุใด และหากผิด ผิดในแง่ไหนจงอธิบาย
  
  • เด็กชาย K ไม่มีความผิดเพราะได้นำไปใช้ทางการศึกษาหาความรู้ในโรงเรียน ไม่ได้นำไปใช้ในทาง พาณิชย์ หรือ ทางการค้า

แบบฝึกหัดบทที่ 7

แบบฝึกหัดบทที่ 7


แบบฝึกหัดบทที่ 7

แบบฝึกหัดบทที่ 7 

ความปลอยภัยของสารสนเทศ


- การจัดการสารสนเทศยุดใหม่ กลุ่ม 1
- นางสาว วิไลพร  รุ่งเรือง  56010912829
- คณะการบัญชีและการจัดการ สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม


1.หน้าที่ของไฟร์วอลล์คือ
  • ไฟ ร์วอลล์ จะคอยตรวจสอบข้อมูลต่างๆ ระหว่างเครือข่าย หรือ ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ ซึ่งคอยป้องกันการโจมตี สแปม และผู้บุกรุก ต่างๆ ที่ไม่หวังดีต่อระบบ
  • ไฟร์วอลล์ จะเปรียบเสมือนยามเฝ้าประตู ที่คอยตรวจสอบผู้เข้าออกต่างๆ ในสถานที่นั้นๆ
2.จงอธิบยคำศัพย์ต่อไปนี้ ที่เกี่ยวข้องกับไวรัสคอพิวเตอร์ worm , virus , computer , spy 
ware , ad ware มาอย่างน้อยหนึ่งโปรแกรม
  • Worm (หนอนอินเตอร์เน็ต) เป็น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เช่นเดียวกับโปรแกรมไวรัส แต่แพร่กระจายผ่านเครือข่ายไปยังคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครื่องอื่น ๆ ที่ต่ออยู่บนเครือข่ายด้วยกัน ลักษณะการแพร่กระจายคล้ายตัวหนอนที่เจาะไชไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ แพร่พันธุ์ด้วยการคัดลอกตัวเองออกเป็นหลาย ๆ โปรแกรม และส่งต่อผ่านเครือข่ายออกไป และสามารถแพร่กระจายผ่านทางอีเมล์ได้ ไม่ว่าจะเป็น Outlook Express หรือ Microsoft Outlook เช่น เมื่อมีผู้ส่งอีเมล์และแนบโปรแกรมติดมาด้วย ในส่วนของ Attach file ผู้ใช้สามารถคลิ๊กดูได้ทันที การคลิ๊กเท่ากับเป็นการเรียกโปรแกรมที่ส่งมาให้ทำงาน ถ้าสิ่งที่คลิ๊กเป็นเวิร์ม เวิร์มก็จะแอกทีฟ และเริ่มทำงานทันที โดยจะคัดลอกตัวเองและส่งจดหมายเป็นอีเมล์ไปให้ผู้อื่นอีก
  •  Spy ware คือ โปรแกรมเล็ก ๆ ที่ถูกเขียนขึ้นมาสอดส่อง (สปาย) การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ อาจจะเพื่อโฆษณาสินค้าต่าง ๆ สปายแวร์บางตัวก็สร้างความรำคาญเพราะจะเปิดหน้าต่างโฆษณาบ่อย ๆ แต่บางตัวร้ายกว่านั้น คือ ทำให้คุณใช้อินเตอร์เน็ทไม่ได้เลย ไม่ว่าจะไปเวบไหน ก็จะโชว์หน้าต่างโฆษณา หรืออาจจะเป็นเวบประเภทลามกอนาจาร พร้อมกับป๊อปอัพหน้าต่างเป็นสิบ ๆ หน้าต่าง
3.ไวรัสคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็นกี่ชนิด อะไรบ้าง
    
4.ให้นิสิตอธิบายแนวทางป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์มาอย่างน้อย 5 ข้อ
5.มาตรการด้านจริยธรรมคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการใช้อินเทอร์เน็ตที่เหมาะสมกับสังคมปัจจุบัน ได้แก่   
  1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดผู้อื่น
  2. ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
  3. ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น
  4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
  5. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
  6. ต้องมีจรรยาบรรณการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์
  7. ให้ระมัดระวังในการละเมิดหรือสร้างความเสียหายให้ผู้อื่น
  8. ให้แหล่งที่มาของข้อความ ควรอ้างอิงแหล่งข่าวได้
  9. ไม่กระทำการรบกวนผู้อื่นด้วยการโฆษณาเกินความจำเป็น
  10. ดูแลและแก้ไขหากตกเป็นเหยื่อจากโปรแกรมอันไม่พึงประสงค์ เพื่อป้องกันมิให้คนอื่นเป็นเหยื่อ

แบบฝึกหัดบทที่ 6

แบบฝึกหัดบทที่ 6


แบบฝึกหัดบทที่ 6

แบบฝึกหัดบทที่ 6 

การประยุกต์ใช้สารสนเทศในชีวิตประจำวัน


- การจัดการสารสนเทศยุดใหม่ กลุ่ม 1
- นางสาว วิไลพร  รุ่งเรือง  56010912829
- คณะการบัญชีและการจัดการ สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม


คำชี้แจง จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว

1.การประยุกต์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ เป็นความหมายของข้อใด
     ง. พัฒนาการ


2.เทคโนโลยีสารสนเทศใดก่อให้เกิดผลด้านการเสริมสร้างความเท่าเทียมกันในสังคม
     ข.ระบบการเรียนการสอนทางไกล


3.การฝากถอนเงินผ่านเอทีเอ็ม(ATM)เป็นลักษณะเด่นของเทคโนโลยีสารสนเทศข้อใด
     ก.ระบบอัตโนมัติ


4.ข้อใดคือการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
     ง.ถูกทุกข้อ


5.เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง
     ก.การประยุกต์เอาควมรู้มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมุษย์


6.เครื่องมือที่สำคัญในการจัดการสารสนเทศในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร
     ข.สารสนเทศ


7.ข้อใดไม่ใช่บทบาทของเทคนโลยีสารสนเทศ
     ง.เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้มีการสร้างที่พักอาศัยที่มีคุณภาพ


8.ข้อใดไม่ใช่อุปกรณ์ที่ช่วยงานด้านสารสนเทศ

     ก.เครื่องถ่ายเอกสาร

9.ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
     ค.ไม่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์


10.ข้อใดคือประโยชนน์ที่ได้จากการนำเทคโนโลยีสารสนเทศใช้กับการเรียน
     ง.ถูกทุกข้อ

แบบฝึกหัดบทที่ 5

แบบฝึกหัดบทที่ 5


แบบฝึกหัดบทที่ 5

แบบฝึกหัดบทที่ 5 

การจัดการสารสนเทศ


- การจัดการสารสนเทศยุดใหม่ กลุ่ม 1
- นางสาว วิไลพร  รุ่งเรือง  56010912829
- คณะการบัญชีและการจัดการ สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม



 
1.จงอธิบายความหมายของการจัดการสารสนเทศ


        การจัดการสารสนเทศ หมายถึง การทำกิจกรรมหลัก ต่างๆ ในการจัดหา การจัดโครงสร้าง การ ควบคุม ผลิต การเผยแพร่และการใช้สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานขององค์การทุก ประเภทอย่างมีประสิทธิผล ซึ่งสารสนเทศในที่นี้หมายถึงสารสนเทศทุกประเภทที่มีคุณค่าไม่ว่าจะมีแหล่ง กำเนิดจากภายในหรือภายนอกองค์การ     
        การจัดการสารสนเทศ หมายถึง กระบวนการดำเนินงาน เช่น ทำดรรชนี การจัดหมวดหมู่ การจัดแฟ้มการทำรายการเพื่อการเข้าถึงเอกสารหรือสารสนเทศที่มีการบันทึกไว้ ในรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่จดหมายเหตุเชิงประวัติ ถึงข้อมูลดิจิทัล   
        การจัดการสารสนเทศ หมายถึง การดำเนินการกับสารสนเทศในระดับองค์การ ได้แก่ การวางแผน การ จัดสรรงบประมาณ การจัดโครงสร้างองค์การ การจัดเจ้าหน้าที่ การกำหนดทิศทาง การฝึกอบรม และการ
ควบคุมสารสนเทศ
2.การจัดการสารสนเทศมีความสำคัญต่อบุคคลและองค์กรอย่างไร

        การ จัดการสารสนเทศในสภาวะที่สังคมมีสารสนเทศเกิดขึ้นมากมาย ในลักษณะสารสนเทศท่วมท้นการจัดการสารสนเทศ โดยจัดเป็นระบบสารสนเทศต่างๆ เพื่อการใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสมกับความต้องการ เป็นความจำเป็นและมีความสำคัญทั้ง 
  • ต่อบุคคลในด้านการดำรงชีวิตประจำวัน 
  • การศึกษา
  • การทำงาน 
  • ด้านการบริหารจัดการ 
  • การดำเนินงาน
  • กฎหมาย
3.พัฒนาการของการจัดการสารสนเทศแบ่งออกเป็นกี่ยุค อะไรบ้าง

        นักวิชาการด้านสารสนเทศศาสตร์บางคนได้กล่าวไว้ว่า การถกเถียงอภิปรายถึงความหมายของคำว่าสารสนเทศ จะไม่เกิดคุณค่าใดๆ หากไม่พิจารณาความหมายลึกลงไปในแง่การปฏิบัติงานกับสารสนเทศ หรือคือ การจัดการสารสนเทศ ทั้งนี้เพราะการศึกษาสารสนเทศศาสตร์ ในแง่มุมหนึ่งคือการประยุกต์ด้านการปฏิบัติงานเพื่อการจัดการสารสนเทศ
        และ การจัดการสารสนเทศก็เป็นสิ่งที่มนุษย์ได้กระทำมาเป็นระยะเวลายาวนานนับแต่ รู้จักคิดค้นการขีดเขียน บันทึกข้อมูล การจัดการสารสนเทศโดยทั่วไป แบ่งอย่างกว้างๆได้เป็น 2 ยุค เป็นการจัดการสารสนเทศด้วยระบบมือ และ การจัดการสารสนเทศโดยใช้คอมพิวเตอร์
  •        การจัดการสารสนเทศด้วยระบบมือ
การจัดการสารสนเทศเริ่มต้นเมื่อมีการสร้างอารยธรรมในด้านการบันทึกความรู้ ราว 2,000 - 8,000 ปีก่อนคริสตศักราช อียิปต์โบราณใช้กระดาษปาปิ รัสเขียนบันทึกข้อมูล หอสมุดอเล็กซานเดรีย (Library of Alexandria)สร้างโดยพระเจ้าปโทเลมีที่ 1 ในช่วง 285 ปีก่อนคริสตศักราช เป็นคลังความรู้ที่ยิ่งใหญที่สุดในโลกยุคโบราณ จัดเก็บกระดาษปาริรัสที่เขียนบันทึกวิชาการแขนงต่างๆ ถึง 7 แสนกว่าม้วนไว้ในกระบอกทรงกลม และต่อมาในได้มีการใช้หนังสัตว์เย็บเป็นรูปเล่มหนังสือ เรียกว่าโคเด็กซ์ (codex) ในสมัยของเปอร์กามัม(Pergamum) แห่งกรีก ในช่วง 197-159 ปีก่อนคริสตศักราช

ช่วงศตวรรษที่ 12 เกิด สถาบันการศึกษาที่เป็นทางการ ห้องสมุดของสถาบันการศึกษา เช่นมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ยังคงจัดระบบหนังสือในลักษณะเดียวกับห้องสมุดวัด นอกจากจัดหนังสือตามสาขาวิชาแล้ว ยังจัดตามขนาด และเลขทะเบียนหนังสือ หนังสือที่สำคัญมากยังคงถูกล่ามโซ่อยู่กับโต๊ะในคริสต์ศตวรรษที่ 15 โยฮานน์ กูเต็นเบิร์ก (Johannes Gutenberg) ชาว เยอรมันคิดเครื่องพิมพ์ขึ้น พิมพ์หนังสือเล่มแรกของยุโรปคือ ไบเบิลในภาษาละติน เมื่อการพิมพ์แพร่ จึงมีการพิมพ์หนังสือ ทั้งตำรา สารคดีบันเทิงคดี พัฒนาเป็นวารสาร หนังสือพิมพ์ จุลสาร กลางศตวรรษที่ 15 กิจการพิมพ์หนังสือมีอยู่ในเมืองใหญ่ๆ ทั่วยุโรป

ศตวรรษที่ 16 กิจการ การค้าหนังสือแพร่จากทวีปยุโรปสู่ทวีปอื่นทางเส้นทางการค้าและพัฒนาเป็น ธุรกิจขนาดใหญ่ ส่งผลให้หนังสือจัดเป็นส่วนหนึ่งของชนทุกชั้น ลักษณะของหนังสือเปลี่ยนไป ขนาดเล็กลงใช้สะดวกขึ้น ไม่มีสื่อประเภทใดที่เป็นเครื่องมือค้นสื่อที่จัดเก็บแลเผยแพร่ได้อย่างมี ประสิทธิภาพเทียบเท่าหนังสือเป็นระยะเวลายาวนาน (Feather 2002 : 24)

การ จัดการสารสนเทศในระยะแรก สื่ออยู่ในรูปของสื่อสิ่งพิมพ์ การจัดการสารสนเทศเน้นระบบมือโดยรวบรวมรายชื่อหนังสือที่มีการผลิตและเผย แพร่ และเทคนิคในการจัดเก็บเอกสารระยะแรกเ เป็นการจัดเรียงตามขนาดของรูปเล่มหนังสือ ตามสีของปก ตามลำดับอักษรชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่องหนังสือ เลขทะเบียน ตามลำดับก่อนหลังของหนังสือที่ห้องสมุด หน่วยงานได้รับ และรวมทั้งการกำหนดสัญลักษณ์ขึ้นเป็นตัวเลขและ/หรือ ตัวอักษรเพื่อแทนเนื้อหาสาระของสิ่งพิมพ์ แสดงให้ทราบว่าจะค้นสื่อที่ต้องการจากที่ใด ฉบับใด หรือจากหน้าใดในการค้น มีการจัดทำบัญชีรายการหนังสือ เอกสาร เป็นเล่มเพื่อใช้ค้นและเป็นบัญชีคุมหนังสือและ

เอกสารด้วย ต่อมายังมีการจัดทำเป็นแคตาล็อก (catalog) หรือ บัตรรายการหนังสือ ในระยะแรกเป็นเพียงบัญชีรายชื่ออย่างหยาบๆ ต่อมามีรายละเอียดของหนังสือมากขึ้น และบอกเนื้อหาไว้ในบัญชีรายชื่อด้วย โดยมีการควบคุมบรรณานุกรม (bibliographic control) เป็น การรวบรวมจัดทำบรรณานุกรมหรือรายการทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือค้นหา ค้นคืนสื่อรูปแบบต่างๆ ทั้งหนังสือ สื่อบันทึกเสียง ภาพ และอื่นๆ ที่ประดิษฐ์ขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 19

การจัดเก็บสารสนเทศ ยังมีพัฒนาการระบบการจัดหมวดหมู่ (classification scheme) ใน ค.. 1876 มีการคิดระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือระบบทศนิยมดิวอี้ (Dewey Decimal Classification – DDC) เป็น การวิเคราะห์เนื้อหาสารสนเทศเพื่อกำหนดเป็นหมวดหมู่ใหญ่ ย่อย ลดหลั่นจากเนื้อหากว้างๆ จนถึงเนื้อหาเฉพาะเพื่อให้สัญลักษณ์แทนเนื้อหาสารสนเทศเป็นตัวเลข และต่อมามีการพัฒนาการจัดหมวดหมู่โดยการใช้ตัวอักษรผสมตัวเลข หรือเครื่องหมายอื่นๆ แทนเนื้อหาของสารสนเทศ เป็นการจัดเก็บสิ่งพิมพ์อย่างเป็นระบบ และใช้เครื่องมือค้นจากแคตาล็อก
สำหรับ การจัดการสารสนเทศในสำนักงาน ระบบดั้งเดิม ใช้ระบบมือ หรือกำลังคนเป็นหลัก การจัดการเอกสารซึ่งใช้กระดาษระยะแรกจัดเก็บตามการรับเข้า และส่งออกตามลำดับเวลา มีการจัดทำทะเบียนเอกสารรับเข้า - ส่งออกในสมุดรับ – ส่ง และจัดทำบัญชีรายการเอกสารด้วยลายมือเป็นรูปเล่ม ต่อมาพัฒนาเป็นจัดเก็บเอกสารโต้ตอบเฉพาะเรื่องไว้ในแฟ้มเรื่องเดียวกันในตู้ เก็บเอกสาร โดยพัฒนาเป็นหมวดหมู่ของระบบงานสารบรรณเอกสาร การจัดเก็บ อาจจัดเรียงตามลำดับอักษรชื่อหน่วยงาน ชื่อบุคคล ตามเนื้อหา ตัวเลข ตัวอักษรผสมตัวเลข ลำดับเวลา และตามรหัส และมีการทำดรรชนี กำหนดรหัสสี มีการทำบัตรโยงในตู้เก็บเอกสาร เป็นต้น เพื่อความสะดวกในการค้นหา มีการทำบัญชีรายการสำหรับค้นเอกสารสารบรรณ ที่ต่อมาใช้เครื่องพิมพ์ดีดแทน การเขียน
  •  การจัดการสารสนเทศโดยใช้คอมพิวเตอร์
การ จัดการสารสนเทศเกิดขึ้นโดยใช้คอมพิวเตอร์ เมื่อสารสนเทศมีปริมาณมากมาย รูปลักษณ์หลากหลายคอมพิวเตอร์มีพัฒนาการของจากอดีตถึงปัจจุบัน ปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว ในระยะแรก ตั้งแต่ ค.. 1946 มี การประดิษฐ์คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่ใช้เทคโนโลยีหลอดสูญญากาศ ใช้ในงานค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ การสำรวจสำมะโนประชากร ซึ่งต่อมา เครื่องคอมพิวเตอร์พัฒนามาใช้เทคโนโลยีทรานซิสเตอร์ มีขนาดเล็กลง และนำมาใช้ในงานทางด้านคณิตศาสตร์และวิศวกรรม ช่วงทศวรรษที่ 1960 คอมพิวเตอร์ เริ่มใช้แผงวงจรรวมหรือไอซี และแผงวงจรรวมขนาดใหญ่ และนำมาใช้งานการสื่อสารข้อมูล และงานฐานข้อมูล เพื่อลดภาระงานประจำโดยทรัพยากรอยู่ในรูปของกระดาษ เห็นได้ว่าคอมพิวเตอร์ถูกพัฒนานำมาใช้งานตามสมรรถนะที่เพิ่มขึ้น
ใน ระยะต่อมาเป็นการนำมาใช้พัฒนาเป็นระบบสารสนเทศในงานเฉพาะทางต่างๆ เช่น ระบบห้องสมุดมีการใช้คอมพิวเตอร์ในการทำบัตรรายการเป็นเครื่องมือช่วยค้น ทรัพยากรสารสนเทศทั้งสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อโสตทัศนประเภทต่างๆ ระบบงานเอกสารสำนักงานปรับปรุงระบบการทำงานให้เป็นอัตโนมัติมากขึ้นในช่วง ค..1970จึง นำมาจัดเก็บข้อมูลซึ่งเป็นข้อมูลจากกระดาษ จัดเก็บในลักษณะแฟ้ มข้อมูล ต่อมา ได้เริ่มพัฒนาระบบจัดการฐานข้อมูล เพื่อเอื้อต่อการจัดการสารสนเทศได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และลดความซ้ำซ้อนขึ้น
พัฒนาการ ของคอมพิวเตอร์ในระยะหลังเป็นไปอย่างรวดเร็ว และเพิ่มสมรรถนะขึ้นอย่างมากมายตามยุคต่างๆ ในยุคหลังๆ จึงใช้ในงานที่สามารถหาเหตุผลด้วยวิธีการต่างๆ รวมทั้งเลียนแบบวิธีคิดของมนุษย์
ช่วงค.. 1980 เป็น ต้นมาพัฒนาการคอมพิวเตอร์ก้าวหน้าขึ้น อาทิ ไมโครคอมพิวเตอร์แม้มีขนาดเล็กลงแต่มีสมรรถนะมากขึ้น มีการใช้คอมพิวเตอร์จัดการสารสนเทศในงานต่างๆ ทั้งการศึกษา การแพทย์ ธุรกิจ เป็นต้น โดยจัดทำระบบฐานข้อมูลช่วยงานด้านต่างๆทั้งการบริหาร การตัดสินใจที่ใช้ง่ายและดีกว่าเดิม ระบบสารสนเทศมุ่งตอบสนองทั้งความต้องการส่วนบุคคลของผู้ใช้ และการตอบสนองความต้องการในการทำงานตามหน้าที่ในองค์การมากขึ้น และเปลี่ยนจากเพิ่มประสิทธิผลไปสู่การใช้งานเชิงกลยุทธ์
การใช้คอมพิวเตอร์ในระยะตั้งแต่ ค.. 1990 เป็น ต้นมา การพัฒนาระบบเครือข่ายโดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูล และการใช้อินเทอร์เน็ต ทำให้การจัดการระบบฐานข้อมูลผ่านระบบออนไลน์อย่างกว้างขวาง ขยายการทำงาน การบริการ การค้า ธุรกิจ การคมนาคม การแพทย์ เป็นต้น กระทำได้อย่างกว้างขวางในลักษณะเครือข่ายความร่วมมือใช้สารสนเทศร่วมกัน สื่อสารสารสนเทศทั้งตัวอักษร ภาพ เสียงเพื่อการดำเนินงานระหว่างองค์การของทั้งหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน

4.จงยกตัวอย่างการจัดการสารสนเทศที่นิสิตใชในชีวิตประจำวันมา อย่างน้อย 3 ตัวอย่าง
  1. ระบบห้องสมุด
  2. ระบบธนาคาร
  3. ระบบลงทะเบียนมหาวิทยาลัย
  4. ระบบ WBI
  5. ระบบ POS