วันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

บทความ

บทความที่1 ระบบบำบัดน้ำเสียเฉพาะจุด
 แม้ปัญหาน้ำเสียจะมิได้รุนแรงถึงขึ้นทำลายชีวิต หรือก่อให้เกิดการสูญเสียทรัพย์สินฉับพลันทันทีเช่นปัญหาน้ำท่วม     แต่เป็นเสมือนมะเร็งร้ายที่ค่อย ๆ ลุกลามไปทำลายระบบนิเวศเป็นอันตรายต่อสุขอนามัยและ บั่นทอนสุขภาพจิตใจของผู้คนที่อาศัยอยู่ในละแวกใกล้เคียง ทั้งยังเป็นทัศนียภาพที่ไม่ชวนมองสำหรับผู้ที่ต้องสัญจรผ่านไปมาหรือผู้ที่แวะเวียนมาเยี่ยมเยือนเป็นครั้งคราว จากต่างถิ่น ต่างแดน
          ระบบบำบัดน้ำเสียเฉพาะจุด ภายใต้งบประมาณที่จำกัด เป็นเสมือนทัพหน้าของการแก้ปัญหาระยะแรก โดยนับแต่ พ.ศ. 2520 เมื่อสำนักการระบายน้ำถือกำเนิดได้เริ่มเปิดเดินระบบบำบัดน้ำเสียเฉพาะจุดที่กองขยะอ่อนนุชเป็นแห่งแรก และพัฒนาต่อเนื่องเรื่อยมา
          ปัจจุบันยังได้มีการเดินระบบบำบัดน้ำเสียขนาดเล็กที่รับโอนจากการเคหะแห่งชาติ ระบบบำบัดน้ำเสียแบบสระเติมอากาศและการจัดระบบไหลเวียนหมุนเปลี่ยนน้ำ (Flushing)  เพราะแม้จะมีระบบบำบัดน้ำเสียขนาดใหญ่ ซึ่งเปรียบเสมือนทัพหลวงในการจัดการปัญหา แต่ระบบบำบัดน้ำเสียเหล่านี้ยังต้องมีบทบาทดูแลสุขอนามัย      อันเป็น “พื้นฐานแห่งชีวิต” ของประชาชนต่อไป


บทความที่2
โรงควบคุมคุณภาพน้ำที่รับโอนจากการเคหะแห่งชาติ
12 โรงควบคุมคุณภาพน้ำที่รับโอนจากการเคหะแห่งชาติ รับน้ำเสียจากอาคารบ้านพัก อาศัย บริเวณแฟลตและร้านค้า ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 4 ตารางกิโลเมตร เพื่อประโยชน์แก่ชุมชน 130,000 คน
          ในการสร้างอาคารที่พักอาศัยรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงที่ดำเนินการโดยการเคหะแห่งชาติต้องมีการสร้างระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อรองรับน้ำเสียที่เกิดจากกิจกรรมการใช้น้ำชีวิตประจำวันของผู้พักอาศัย แต่การเดินระบบบำบัดน้ำเสียมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้นทุกปีและยังมีค่าซ่อมบำรุงอีกส่วนหนึ่งขณะที่การเคหะแห่งชาติมีค่าใช้จ่ายในการ    ดูแลสาธารณูปโภคอื่น ๆ ที่จำเป็นอีกมาก และไม่ต้องการให้ผู้พักอาศัยซึ่งส่วนใหญ่มีรายได้ไม่มากนักมาเฉลี่ย     รับค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ จึงพยายามโอนโรงควบคุมคุณภาพน้ำเคหะชุมชนต่าง ๆ ให้กับกรุงเทพมหานครรับมาอยู่ในความดูแล
          แต่ตามระเบียบของกรุงเทพมหานคร การจะรับโอนสาธารณูปโภคใด ๆ ต้องสร้างคุณประโยชน์แก่หน่วยงานด้วย ซึ่งการเคหะแห่งชาติยินดีทำข้อตกลงในการซ่อมแซมโรงควบคุมคุณภาพน้ำทุกแห่งให้อยู่ในสภาพ  ที่ใช้งานได้ก่อนที่จะโอน รวมทั้งจะมีการสมทบเงินในช่วง 5 ปีแรก
          ภายใต้เงื่อนไขนี้ ระหว่าง พ.ศ. 2533-2540 กรุงเทพมหานครจึงได้ทยอยรับโอนโรงควบคุมคุณภาพน้ำจากการเคหะแห่งชาติมาอยู่ในความดูรวมทั้งสิ้น 12 แห่ง ได้ แก่ โรงควบคุมคุณคุณภาพน้ำเคหะชุมชนห้วยขวาง บางนา คลองจั่น รามอินทรา ทุ่งสองห้อง 1 ทุ่งสองห้อง 2 หัวหมาก ท่าทราย คลองเตย ร่มเกล้า บางบัว และบ่อนไก่ รวมขีดความสามารถในการบำบัดน้ำเสีย 24,800 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ซึ่งทำให้ชาวเคหะชุมชน          มีสาธารณูปโภคเช่นเดียวกับอาคารให้เช่าพักอาศัยอื่น ๆ ตลบถึงปัจจุบัน
          นอกจากนั้นแล้ว โรงควบคุมคุณภาพน้ำที่รับโอนมาทุกแห่ง ถือว่าเป็นโรงเรียนฝึกอบรมชั้นดี สำหรับบุคลากรของสำนักการระบายน้ำ ทั้งการอกแบบปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การเดินระบบ และสร้างประสบการณ์ในการบริหารโครงการระบบบำบัดน้ำเสียขนาดใหญ่ในเวลาต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น